นักบุญ อันตน แห่ง ปาดัว
พระสงฆ์ และนักปราชญ์
องค์อุปถัมภ
์ของผู้อดหยากหิวโหย
ระลึกถึงวันที่ 13 มิถุนายน


แฟร์นันโด เด บูโยแอส อี ตราเวอีราเกิดที่กรุงลิสบอนในประเทศโปรตุเกสท่านได้บวชเป็นพระสงฆ์ และได้เข้าเป็นนักบวชในคณะนักบุญออกัสติน แต่ว่าต่อมาท่านได้รู้สึกทึ่งมากในอุดมการณ์ของพวกนักบวชคณะฟรังซิสกัน เพราะท่านได้แลเห็นศพของมรณสักขีที่เป็นนักบวชคณะฟรังซิสกันพวกแรกของประเทศมารอคโค 5 คนด้วยกัน ท่านจึงตัดสินใจเข้าเป็นนักบวชฟรังซิสกัน และไปประจำอยู่ที่อารามนักบุญ อันโตนีโอ (แห่ง) ที่เมืองโคอิมบรา และได้รับนามใหม่ว่า “อันโตนีอุส”

เนื่องจากอันโตนีโออยากจะเป็นมรณสักขีกับเขาบ้าง จึงต้องการไปแพร่ธรรมในหมู่พวกอิสลามทางตอนเหนือของทวีปอัฟริกา แต่ความเจ็บไข้ทำให้ท่านไม่ได้ไปถึงจุดหมาย เรือที่ท่านได้โดยสารไป ต้องกลับมาจอดและขึ้นบกที่เกาะซิซีลีเพราะโดนพายุหนัก    เมื่อกลับมาถึงประเทศอิตาลี   ท่านได้ลงมือออกไปประกาศพระวรสารทั่วประเทศอิตาลี

ในปี 1221 ท่านได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ของคณะที่ปอร์ซีอุนโคลา และได้มีโอกาสพบกับนักบุญ ฟรังซิส อัสซีซี

ท่านได้ทำให้คนเป็นอันมากกลับใจ และได้เทศน์ต่อต้านพวกเฮเรติกในประเทศอิตาลีและในประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างเทศกาลมหาพรตปี 1231 ท่านได้เทศน์สอนเกี่ยวกับเรื่องของสังคม เป็นต้นความยุติธรรมทางสังคม ซึ่งถือว่าเป็นจุดสุดยอดของการเทศน์ของท่าน

ท่านได้สิ้นใจในเดือนมิถุนายนถัดมา ที่ตำบลอาร์เชลลา ในจังหวัด Padova ขณะที่มีอายุเพียง 36 ปีเท่านั้น

ท่านเป็นนักบวชฟรังซิสกันคนแรกที่ได้สอนเทววิทยา เราจะเห็นว่าในบทเขียนและคำเทศน์สอนต่างๆ ของท่าน ท่านมักจะอ้างอิงข้อความจากพระคัมภีร์อยู่เสมอๆ ดังนั้นในปี 1946  พระสันตะปาปาปีโอที่ 12  ได้ให้เกียรติท่าน โดยแต่งตั้งให้ท่านเป็น “นักปราชญ์แห่งพระวรสาร” การเคารพให้เกียรติท่านนั้น ดูเหมือนว่าจะแพร่หลายที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักบุญ หลังจากที่ท่านได้สิ้นใจเพียงปีเดียวเท่านั้น

คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ

1. ขอให้ความศรัทธาภักดีของเราที่มีต่อบรรดานักบุญจงช่วยนำเราให้เข้าใกล้ชิดพระเยซูคริสตเจ้า
2. ขอให้เราได้รู้จักและแลเห็นโฉมหน้าของพระเยซูเจ้าในบรรดานักบุญในแต่ละศตวรรษ
3. ขอให้เราได้ตระหนักว่าบรรดานักบุญเป็นพี่น้องของเราที่คอยเอาใจใส่ห่วงใยเราอยู่เสมอ
4. ขอให้พฤติกรรมและจิตตารมณ์ของบรรดานักบุญได้ช่วยโน้มน้าวให้เราเจริญชีวิตตามจิตตารมณ์พระวรสาร